วิทยาการคำนวณ มัธยมศึกษาปีที่ 3

💡หน่วยที่ 1 การใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน 

              📀เหตุผลวิบัติ

 💿การใช้งานลิขสิทธ์ที่เป็นธรรม ตอนที่ 1
    📀การใช้งานลิขสิทธ์ที่เป็นธรรม ตอนที่ 2
    💿เช็คให้ชัวร์
    📀รู้เท่าทันฉันปลอดภัย
    💿กฎหมายน่ารู้ 

💡หน่วยที่ 2 การพัฒนาแอปพลิเคชั่น 

      📀ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน

        💿การวางแผนการพัฒนา

💡หน่วยที่ 3 สร้างสรรค์ผลงานด้วยภาษาไพทอน

 📀การสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ตอนที่ 1
    💿การสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ตอนที่ 2

💡หน่วยที่ 4 การประมวลผลข้อมูล
📀ดาด้าที่ท้าทาย ตอนที่ 1
💿ดาด้าที่ท้าทาย ตอนที่ 2

 💡หน่วยที่ 5 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
📀องค์ประกอบไอโอที

💿กรณีศึกษา 

💡หน่วยที่ 5 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง💡

สาระสำคัญ

      อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง หรือไอโอที (Internet of Things: IoT) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า ตัวตรวจวัด

เข้ากับโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถส่งข้อมูลตรวจวัดจากสภาพแวดล้อมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมอยู่กับระบบอินเทอร์เน็ตได้


   MQTT (Message Queuing Telemetry Transport) เป็นโพรโทคอลที่นำมาใช้ในงาน IoT เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์โดยผ่านเซิร์ฟเวอร์ตัวกลาง (broker) ประกอบด้วยฝั่งที่แจ้งข้อมูล (publisher) และฝั่งที่ขอรับข้อมูล (subscriber) โดยจะต้องระบุตัวอ้างอิงที่เป็นหัวข้อ (topic) ของข้อมูลที่จะรับส่งให้ตรงกัน


สื่อการเรียนรู้

1) คลิปวิดีโอ เรื่อง องค์ประกอบไอโอที  ที่ YouTube Proj14 วิชาวิทยาการคำนวณ ม.3 ภายใต้โครงการ Project 14 ของ สสวท.

📝 ใบกิจกรรม องค์ประกอบของ IoT 📝

💿 กรณีศึกษาการพัฒนาแอปพลิเคชันไอโอที
"ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ" 💿

สาระสำคัญ

      อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งหรือไอโอที (Internet of Things : IoT) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า ตัวรับรู้หรือเซนเซอร์ (sensor) เข้ากับโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถส่งข้อมูลที่เซนเซอร์วัดจากสภาพแวดล้อมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมอยู่กับระบบอินเทอร์เน็ตได้จึงเป็นกลไกที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเซนเซอร์ได้สะดวก อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อได้ง่ายและยังควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ สามารถวัดความชื้นของดินในแปลงเกษตรเพื่อนำมาควบคุมการเปิดปิดระบบรดน้ำต้นไม้ การเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตช่วยให้อุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันสามารถสื่อสารกันได้โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกันโดยตรง ทำให้ง่ายต่อการติดตั้งและเคลื่อนย้าย อึกทั้งในปัจจุบันยังมีบริการออนไลน์มากมายบนอินเทอร์เน็ตที่สามารถให้ข้อมูลมาช่วยประกอบการตัดสินใจเพื่อควบคุมอุปกรณ์ได้ จากตัวอย่างอุปกรณ์รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติข้างต้น อาจเขียนโปรแกรมร้องขอข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา หากมีการพยากรณ์ว่าจะมีฝนตก ก็อาจนำข้อมูลนั้นมาประกอบการตัดสินใจในการทำงานของอุปกรณ์รดน้ำต้นไม้อัตโมมัติ ทำให้ช่วยประหยัดแรงงาน เวลา รวมถึงค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าน้ำและค่าไฟฟ้า


สื่อการเรียนรู้

1) คลิปวิดีโอ เรื่อง กรณีศึกษา  ที่ YouTube Proj14 วิชาวิทยาการคำนวณ ม.3 ภายใต้โครงการ Project 14 ของ สสวท. 

📝 ใบกิจกรรม IoT สร้างสรรค์ 📝