ผู้จัดทำข้อตกลง

นางสาวเตชินี  ภิรมย์

ตำแหน่ง  ครู     
วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ

สถานศึกษา
โรงเรียนก้างปลาวิทยาคม  

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

เอกสารข้อตกลงในการพัฒนางาน และรายงานข้อตกลงในการพัฒนางาน

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 19.18 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- รายวิชาวิทยาการคำนวณ           จำนวน 4 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์

- ออกแบบและเทคโนโลยี  จำนวน 4 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์
- โปรแกรมสำนักงานเบื้องต้น จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
- เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

- โครงงานคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- กิจกรรมแนะแนว จำนวน 50 นาที/สัปดาห์

- กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์  จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
- ชมรมรักษาสิ่งแวดล้อม จำนวน 50 นาที/สัปดาห์

- ลูกเสือ เนตรนารี                    จำนวน 50 นาที/สัปดาห์

- ชุมนุม                                     จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
###########################################

คำสั่งแต่งตั้งครูเข้าสอนภาคเรียนที่ 2/2566

###########################################

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน           จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม                  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เวรประจำวัน                                  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

###########################################

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมบ้าน ปีการศึกษา 2567

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ภาคเรียนที่ 2/2567

คำสั่งแต่งตั้งครูเวรประจำวัน ภาคเรียนที่ 2/2567

###########################################

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน  10 ชั่วโมง/สัปดาห์ 

กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป

- หัวหน้างานระบบสารสนเทศ           จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

- หัวหน้างานเทคโนโลยี                 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานประชาสัมพันธ์ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
- งานสื่อโสตทัศน์ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- งานอำนวยการ จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

###########################################
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่งานตามสายงานบริหารราชการโรงเรียน ประจําปีการศึกษา 2/2566

###########################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา วิทยาการคำนวณ เรื่อง การประมวลผลข้อมูล
โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยแอพพลิเคชัน “Give Star” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

              การจัดการเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning) เป็นแนวทางหรือวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียน โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้ดูแลให้คำปรึกษา แนะนำ ผสมผสานเทคนิคการสอนที่หลากหลาย มุ่งเน้นให้ผู้เรียนนำความรู้จากห้องเรียนสู่การปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียนและในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning) เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น กล้าคิด กล้าถาม กล้าตอบ เพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้ ซึ่งการจัดการเรียนการสอน สำหรับรายวิชาวิทยาการคำนวณส่วนของเนื้อหาทฤษฎี ปัจจุบันนั้นแม้จะใช้กระบวนการสอนเชิงรุก (Active Learning) ผู้เรียนก็ยังคงขาดแรงกระตุ้น ไม่มีความกระตือรือร้น ไม่มีความตื่นรู้ ตื่นคิด ขาดแรงบันดาลใจ ขาดความกล้าในการแสดงความคิดเห็น ไม่กล้าตอบ ไม่กล้าถามเมื่อไม่เข้าใจ แสดงพฤติกรรมนิ่งเงียบ หรือกรณีมีผู้เรียนบางคนมีความกล้าสำหรับการแสดงความคิดเห็น หรือกล้าถาม กล้าตอบ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูผู้สอน หากในชั้นเรียนมีกิจกรรมบ่อยครั้ง อาทิ การลงมือปฏิบัติ การถาม-ตอบ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การทำงานกลุ่ม การประเมินผลแบบเดิม ๆ เป็นเพียงการสังเกตจากผลงาน การโต้ตอบในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปอาจส่งผลให้ครูผู้สอนเผลอลืมพฤติกรรมเล่านั้น หรือหากมีการให้คะแนนก็เป็นเพียงการบันทึกคะแนนลงในกระดาษ ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากร

                ผู้พัฒนาจึงได้เกิดแนวคิดการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ โดยมีการพัฒนา Application “Give Star” สำหรับให้คะแนนกับผู้เรียน ทั้งแบบกลุ่ม แบบเดี่ยวที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โต้ตอบ ปฏิบัติที่เป็นเลิศในชั้นเรียน เพื่อเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้กับผู้เรียน โดยการสแกนคิวอาร์โค้ดให้กับผู้เรียนที่มีส่วนร่วมในชั้นเรียนเป็นอย่างดี แสดงผลคะแนนแบบเรียลไทม์ผ่าน URL เห็นผลลัพธ์ทันที ส่งผลให้ผู้เรียนมีความตื่นเต้น ตื่นตัว มีแรงกระตุ้น และแรงจูงใจในการเรียนรู้ในห้องเรียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย ของรัฐบาลที่มุ่งเน้นส่งเสริมเทคโนโลยีการศึกษา สำหรับครูไทยยุค 4.0 เพื่อเข้าสู่ห้องเรียนยุคใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนการเรียนรู้แบบองค์รวม 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

       การวางแผน (Plan)

          1) วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนก้างปลาวิทยาคม ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของรายวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

       2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning)

       3) ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning)

        การปฏิบัติ (Do)

            4) สร้าง Google Form เพื่อใช้ร่วมกับ Application ในการนำเข้าข้อมูล

       5) สร้าง Google Sheet สำหรับประมวลผลข้อมูล

       6) สร้าง Application ด้วย App Inventor

       7) ทดสอบการแสดงผลคะแนนจากการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แบบเรียลไทม์

       การตรวจสอบ (Check)

            8) ทดลองใช้ Application “Give Star”

       9) หาประสิทธิภาพของ Application “Give Star”

       การปรับปรุงแก้ไข (Act)

           10) นำ Application “Give Star” ประยุกต์ใช้ในห้องเรียนจริง

      11) ศึกษาความพึงพอใจจากการใช้ Application “Give Star”


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

    ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1 จำนวนนักเรียน 35 คน ได้รับการพัฒนาและแก้ไขผลสัมฤทธิ์ รายวิชา วิทยาการคำนวณ เรื่อง การประมวลผลข้อมูล โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยแอพพลิเคชัน “Give Star” มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นร้อยละ 80

เชิงคุณภาพ 

  ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1 จำนวนนักเรียน 35 คน มีความตื่นรู้ ตื่นคิด กระตือรือร้นในการเรียนรู้ กล้าคิด กล้าถาม กล้าตอบ กล้าแสดงออก รวมทั้งมีความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้บูรณาการกับรายวิชาอื่น

ตัวชี้วัด (Indicators)

คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้ รายวิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

คลิป VDO สั้น การสอนวิทยาการคำนวณ ม.3
โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ด้วยแอพพลิเคชัน “Give Star” 

คลิป VDO การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ด้วยแอพพลิเคชัน “Give Star”
เป็นส่วนหนึ่งของ "หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม"

คลิปวิดีโอผลงานนักเรียนและการจัดการเรียนรู้ ในรูปแบบออนไลน์ (Online)

📽️คลิปวิดีโอการนำเสนอผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ประเภทผลงาน วิชาการ 

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มหุ่นยนต์ 📽️